8 ความเชื่อ (เชื่อได้ไหม) ในการตัดสินใจเลือกชื้อ แอร์
หลังจากอ่าน สิ่งนี้ แล้ว จะทำให้การ ชื้อ แอร์สนุก มากขึ้น
จะทำให้ คุณ ยืน อยู่แผนก เครื่องใช้ไฟฟ้า ในห้างได้นานขึ้น
หน้าร้อนปี 2563 กำลังจะมาแล้ว หาความรู้ เรื่องแอร์กันเถอะ
สำหรับใคร งบ ชื้อแอร์ น้อย ก็จะได้ ของที่ คุณภาพดีที่สุด
ที่มา : http://bit.ly/35r5ols
1 แอร์ บีทียู ต่ำๆ จะเย็นน้อย
คำกล่าวนี้ ถูกต้อง ในบางสถานการณ์เท่านั้น เช่น หากนำเอาแอร์ 2200 บีทียุ กับ 9000 บีทียู มาเปิดแข่งกัน กลางสนาม แอร์ 2200 บีทียูจะแพ้ แน่นอน เพราะ ทำความเย็นได้น้อยกว่า ต้องเอามือไปแตะลมหน้าแอร์ถึงจะรู้สึกเย็น ในขณะ ที่แอร์ 9000 บีทียู นั้น ทำความเย็นได้แรงมากกว่า จึงรับรู้ถึงความเย็นได้มากหน่อย ก่อนจะระเหยเจือจางไปกับอากาศ เช่นกัน ( เพราะ ไม่มีห้อง ที่ทำหน้าที่เก็บอุณหภูมิความเย็น )
หน่วย บีทียู ของ แอร์ ดัดแปลง มาจาก หน่วยวัดพลังงานความร้อน 1 BTU เท่ากับ พลังงานที่ทำให้ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์ (pound) มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮธ์ (°F). แต่ว่า การนำมาคิดคำนวนหาบีทียู ของแอร์ และ เพื่อใช้งานจริง ว่า ห้อง ขนาดนี้ ใช้ แอร์ กี่บีทียู ดีที่สุด ยังหาเลขคงที่ไม่ได้ เพราะ มีหลายปัจจัยเกี่ยวข้อง เช่น สภาพภูมิอากาศของบ้านเรา , วัสดุที่ใช้ทำห้อง
สรุป ตามข้อสงสัย ว่า แอร์บีทียู น้อยจะไม่เย็นนั้น ไม่จริง หากเรา มีห้องเก็บอุณหภูมิ ที่ขนาดเล็ก ตามสูตร คำนวณ ดังนี้
1. ขนาด ห้อง กว้าง 2 เมตร ยาว 1.5 เมตร ( สูงประมาณ 2.5 เมตร แต่ ไม่ต้องนำมาคิด ) สูตร คือ กว้าง X ยาว X 750 (ตัวเลขตายตัว) = บีทียู ของแอร์ ที่พอเหมาะ ( ไม่มีสูตรไหนแม่นยำ แต่ เวลา ใชงานจริง ให้ปรับ เพิ่ม-ลด อุณหภูมิ ที่ รี-โมทย์ เอา )
2. สรุป คือ ห้อง ขนาด 2 X 1.5 เมตร ต้องใช้แอร์ขนาด = 2X1.5X750 = 2250 บีทียู
3. หากนำแอร์ 2200 บีทียู มาเปิดแข่ง กับแอร์ 9000 บีทียู อีกครั้ง แต่ เปลี่ยนจาก เปิด กลางสนาม มาเปิดในห้อง ขนาด 2X1.5 เมตร ผลการแข่งขัน ออกมาแล้ว คือ ความเย็นในห้องเท่ากัน
ฉะนั้นแล้ว การเลือกแอร์ชื้อแอร์ ให้คุ้มค่าเงิน สิ่งหนึ่งคือ การวัดขนาดของห้อง และ คิดคำนวน บีทียู ของแอร์ก่อน เสมอ ส่วน จะชื้อ เผื่อให้สูงขี้นนิดหน่อย ก็แล้วแต่ความพึงพอใจ ของผู้ชื้อเอง และ เวลา เปิดใช้งาน จริง ก็เรียนรู้ และ ปรับเมนูที่รีโมทย์ได้เลย บางคน ชอบ 24 องศา บางคนชอบ 26 องศา
** คำเตือน หากเลือกแอร์ที่ บีทียู สูงกว่าความพอดีของขนาดห้อง แอร์จะตัดบ่อย จนรำคาญ และ ต้องจ่ายเงินชื้อแอร์แพงเกินควร แล้ว ค่าไฟยังบานปลายในอนาคต อีกด้วย
** คำเตือน หากเลือกแอร์ที่ บีทียู ต่ำกว่าความพอดีของขนาดห้อง แอร์จะไม่ค่อยเย็นทั่วห้อง และ แอร์จะทำงานหนัก อายุการใช้งานสั้นลงอีกด้วย
2 เลือกแอร์ ที่เป็นระบบ อินเวอร์เตอร์ ดีกว่า
ระบบการทำงานของแอร์ ทั้ง 2 ระบบ คือ Inverter ( อินเวอร์เตอร์ ) และ Econo ( ธรรมดา ) จะยังมีใช้งานอยู่บนโลกนี้ คู่กันไปได้ ต่อไป เพราะ มีจุดประสงค์ การใช้งาน ในสิ่งแวดล้อม ที่แตกต่างกันไป เช่น หากเป็นห้อง ออฟฟิศ ที่เปิด-ปิด ประตูบ่อย ๆ หรือ ห้องที่ปะทะแดดกลางวัน ควรใช้ แอร์ Econo (ระบบธรรมดา) , และ หากใช้งานในห้องนอนที่ปิดสนิท ต้องการความเย็นคงที่ เสียงเงียบ ควรใช้งาน แอร์ระบบ Inverter (อินเวอร์เตอร์)
( ด้วยเหตุผล ตามข้อ 6 ,หาก ใช้ไม่ตรงจุดประสงค์ จะเกิดผลเสีย ในเรื่อง ค่าไฟ และ อายุการใช้งาน )
3 ควรเลือกแอร์ ที่มีระบบฆ่าเชื้อแบททีเรีย ในตัว
เหตุผล เช่นเดียวกัน กับ ข้อ 4 ด้านล่าง …เพิ่มเติมคือ การซ่อมบำรุง ต้องเรียกช่างมาซ่อม จะมีค่าซ่อม ที่แพง และ อะไหล่ ที่แพงกว่าปกติ แถมแอร์แบบหลายสิ่งรวมกันนี้ หาช่างที่จบงานในครั้งเดียวได้ยากยิ่ง
4 เลือกแอร์ ที่มีระบบฟอกอากาศดีกว่า
การมีระบบฟอกอากาศนั้น เป็น เรื่องที่ดีต่อสุขภาพมาก แต่ ผู้ที่ตัดสินใจชื้อแอร์ ควรคำนึงถึงราคาที่บวกเพิ่มขี้นมา จากการที่ เจ้าของผลิตภัณท์ เพิ่มระบบแผ่นฟอกอากาศเข้ามาในแอร์ ว่า คุ้มหรือไม่ หากเทียบ ราคาและ สเปก กับการชื้อ เครื่องฟอกอากาศแบบตั้งพื้นแยกออกมา ( โดยปกติ สเปก เครื่องฟอกอากาศ ที่ทำงานเฉพาะทางด้านกรองอากาศจะมีประสิทธิภาพ ดีกว่า ) และ การที่แอร์ติดระบบฟอกอากาศเพิ่มเข้ามา ตามหลักทางอากาศพลศาตร์ ย่อมมีผล ต่อการ ถ่ายเทอากาศ ร้อน-เย็น บริเวณ คอย์ลเย็น เพราะ แผ่นกรองอากาศละเอียดกั้นไว้ ทำให้แอร์ต้องทำงานหนักกว่ารุ่นที่ไม่มีระบบนี้ ( แต่ผู้ผลิตก็พยายามปรับนั่นลดนี่ เพื่อให้สมดุลมากที่สุด )
5 เพื่อนบอกแอร์ แบบนี้ ดี และ ไปเห็นมาแล้ว เย็นดีจริง ๆ
เพื่อนบ้าน อาจไม่ได้ มีสิ่งแวดล้อม เดียวกับบ้านเรา การเลือกชื้อแอร์ นอกจากจะคำนึง ถึง สเปกแอร์ที่เหมาะกับขนาดของห้อง การบริการของร้าน และ จุดประสงค์การใช้งาน แล้ว การจะเลือกยี่ห้อไหนดี เบื้องต้นควรปรึกษาสมาชิกภายในบ้าน เช่น แต่ละบุคคลชอบ การออกแบบของยี่ห้อไหน หรือ ติดยี่ห้อไหน เพื่อให้เกิด ความพึงพอใจ ระหว่างการใช้งาน โดยจะ รู้สึกว่า ได้ของดีถูกใจ ไม่เกิด การทะเลาะกัน ภายหลัง กรณี ใช้ไปแล้วแอร์ไม่เย็น จะได้ไม่โทษกันไปมา
6 แอร์ รุ่นนี้ คอมไม่ตัด ทำให้ค่าไฟแพง
ข้อ สงสัย นี้ ใช้กับแอร์ ระบบอินเวอร์เตอร์ ไม่ได้ เพราะ เป็นระบบที่ผ่อนรอบหนัก ผ่อนรอบเบา แทนที่การตัดคอม เพื่อรักษาอุณภูมิตามที่ตั้งไว้ เพื่อเลี้ยงอากาศให้เย็นสม่ำเสมอตลอดเวลาที่ใช้งาน โดย การผ่อนเบานี้ จะใช้กระแสไฟน้อยลง 60% หาก วัดดู ปริมาณของกระแสไฟ ( แอมป์มิเตอร์ )
แต่ หาก เป็น แอร์ระบบธรรมดา Econo การตัดคอมเมื่ออุณหภูมิถึงที่ตั้งไว้ คอมจะตัด หยุดทำงาน โดยมีแค่พัดลมทำงานอย่างเดียว จึงทำให้กินไฟลดลงชั่วขณะ แต่ เมื่อเช็นเชอร์อุณหภูมิ หรือ หางหนู เริ่มร้อน คอมจะกลับมาทำงานอีก ครั้ง โดยกินไฟมากเพื่อทำความเย็นใหม่ อีกครั้ง
จะเห็นว่า การตัดคอม ไม่ใช่ข้อดี เสมอไป กล่าวคือ เมื่อคอมตัดแล้ว กว่าจะทำความเย็นกลับมาอีกครั้ง ผู้ใช้งานก็เริ่ม เหงื่อไหล แล้ว และ คอมต้องทำความเย็นใหม่ กินไฟมากอยู่ดี
7 กลัวน้ำยาแอร์หมดเร็ว รุ่นนี้เติมน้ำยาแอร์ได้ไหม
น้ำยาแอร์คือสิ่งสำคัญที่สุด สำหรับ ระบบการทำความเย็นของแอร์ หากไม่มีน้ำยาแอร์ๆจะเย็นไม่ต่างจากพัดลม กล่าวคือ น้ำยาแอร์มีหน้าที่ กำจัดอากาศ ร้อน ระหว่าง ขบวนการ การเปลี่ยนสถานะ จาก ของ เหลว ไป เป็นแก๊ส จึงทำให้ อุณหภูมิของอากาศ บริเวณ หน้าแอร์ เย็น ( หรือ เรียกว่า คอล์ยเย็น ) และ น้ำยาจะ ถูกไล่กลับเข้ามาในคอมเพลสเชอร์ เพื่อบีบอัดให้กลายเป็นไออีกครั้งและขั้นตอนนี้ จะกำจัดความเย็นทำให้อากาศร้อนในบริเวณรอบ ๆ หลังเครื่อง ( หรือ เรียกว่าคอยล์ร้อน ) หมุนเวียน แบบนี้ ไปตลอด ระหว่าง เปิดเครื่อง
ส่วน น้ำยาแอร์ จะไม่มี ทางหมด เพราะ ระหว่างกระบวนการหมุนเวียนเปลี่ยนสถานะ น้ำยาแอร์นั้น บริษัทผู้ผลิต จะต้องเลือกใช้วัสดุที่มาทำท่อ ทางเดินน้ำยา ที่ทดสอบแล้วว่า ทนต่อแรงดันน้ำยา เช่น ท่อทองแดงหนา ท่อสแตนแลส เพื่อให้มั่นใจว่า น้ำยาแอร์ จะไม่รั่วไม่ระเหย ตลอดอายุการใช้งาน , และ ใช้ระบบการ เชื่อมปิดน้ำยา ถาวร ซึ่ง ปัจจุบัน ผู้ผลิตแอร์ ส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีนี้
ส่วน สาเหตุ ที่ทำให้ น้ำยาแอร์ ระเหย มีหลายสาเหตุเช่นกัน โดยขอกล่าว เพียง บางส่วน ดังนี้ 1. การตกกระแทกอย่างแรง ทำให้ ท่อทางเดินน้ำยา แตก 2. การเติมน้ำยาแอร์ที่ประมาณไม่ตรงตามกำหนด จากโรงงาน ทำให้แรงดันผิดปกติ ท่อทางเดินน้ำยารั่วซึมได้ 3. เกิดจากการซ่อมแอร์ ที่ขาดประสบการณ์ ชี้ว่าแอร์ไม่เย็น เลยลองเติมน้ำยาดู พอเติมน้ำยาครั้งแรกแล้ว จะต้อง เติม ครั้งต่อไป ในเร็ววัน เพราะ หากท่อน้ำยาถูกเปิดแล้วปิด จะยากที่จะสนิทได้ 100% หากไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัย
8 แอร์ดี ต้องลมแรง
ลมจากพัดลมหน้าแอร์ (โบล เวอร์ ) กับ ความเย็นที่มาจากน้ำยาแอร์ทำหน้าที่คนละส่วนกัน ดังนั้น ความแรงของพัดลมจะนำมา ใช้วัด ขนาดบีทียู ของ แอร์ไม่ได้
พัดลมแอร์ ส่วนล่าง มีหน้าที่ ดูดอากาศอากาศร้อน เพื่อให้น้ำยาแอร์เปลี่ยนสถานะ และ กำจัด ความร้อนออกไป และ พัดลมตัวเดียวกันนี้ ก็จะ พัดอากาศเย็นที่อยู่หน้า คอล์ยเย็น ออกมาในเวลาเดียวกัน จะเห็นได้ว่า หน้าที่ ของพัดลม มีหน้าที่ดูดและเป่า ความเย็นออกมา ให้สัมพันธ์กัน เท่านั้น หากพัดลมแรงเกินขนาดแอร์ความเย็นก็จะเจือจางลง หรือ หากพัดลมเบาเกินไป คอล์ยเย็นก็จะจับตัวเป็นน้ำแข็ง
ดังนั้น ผู้ผลิต ปัจจุบัน ปี 2020 จึงพยามยามผลิตแอร์รุ่นใหม่ๆ ที่ไม่ต้องการให้ลมแรง ด้วยซ้ำไป เพื่อลดเสียงลง และ เลี่ยงการเป่าลมปะทะผู้ใช้งาน แต่อย่างไรก็ตาม พัดลมแอร์ยังมีบทบาท ในช่วงกระจายความเย็นไปทั่วห้อง ในช่วงเริ่มเปิดแอร์ อยู่ดี
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ คุณพี่ๆน้องๆ ทั้งหลาย หากมีข้อสงสัย หรือ คำแนะนำ อื่นๆ สามารถคอมเม้นท์ หรือ ส่งข้อความ ถามได้ เลยนะครับ ทางเพจยินดี ตอบทุกคำถาม ครับ http://m.me/wimanair1
และ สุดท้าย นี้ ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่สนใจอ่านบทความข้อมูลของทางเรา ที่รวบรวม มาจากผู้ชื้อจะชื้อแอร์มุ้งจากเรา และ ท่านที่ชื้อไป ใช้งานไปแล้วจริง ส่วนข้อมูลทางเทคนิค ก็ ได้ตรวจสอบโดยวิศวกร ผู้ชำนาญการ ใช้เครื่องมือ การวัดตัวเลข ทางวิทยาศาตร์แล้ว เพื่อประโยชน์สุงสุดแก่ ผู้อ่าน
อย่างไรก็ตาม ก็กราบขออภัยบางท่าน หาก ข้อความนี้ กระทบต่อมุมมองที่ต่างออกไป เช่น การเลือกชื้อแอร์ที่รวมระบบฟอกอากาศฆ่าเชื้อไว้ด้วยกัน บางท่านอาจเห็นไม่ตรง แต่ขอให้เชื่อได้ว่า สิ่งที่ท่านเลือกชื้อ นั้นดี ที่สุดแล้ว เพราะ บทความนี้ มีเจตนา ให้แง่คิด เพื่อลดต้นทุนการชื้อแอร์สำหรับ บุคคลที่ มีงบจำกัด ให้ลดต้นทุน และ เกิดประโยชน์สูงสุด ตามวัตถุประสงค์
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : วิมานแอร์ "WIMAN" คือ ผู้ผลิตและนำเข้าสินค้า อุปโภคบริโภค แอร์เคลื่อนที่แอร์มุ้ง และ เป็นตัวแทนจำหน่าย เต็นท์สนามคุณภาพดี ยี่ห้อดัง อย่างเป็นทางการในประเทศไทย เช่น Vidalido , Free Boat , Camel Tent
ช่องทางติดต่อ วิมานแอร์ โทร : 06-1896-0130
ส่งข้อความ Face Book : วิมานแอร์/wimanair1
Line ID : @wimanair
Web : wimanair.com
หรือคลิ๊ก ช่องทาง แชท ดังด้านล่าง :
รายละเอียด และ รีวิว แอร์ 2200 บีทียู
รายละเอียด และ รีวิว แอร์ 3000 บีทียู
รายละเอียด และ รีวิว แอร์ 9000 บีทียู
รายละเอียด และ รีวิว มุ้งแอร์รุ่น BS
รายละเอียด และ รีวิว มุ้งแอร์รุ่น BS
ดูข้อมูล รีวิว ข่าวสาร สินค้า ทั้งหมด